การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยสเต็นท์

รู้จักสเต็นท์
สเต็นท์เป็นหลอดตาข่ายเล็กๆ ที่ใช้สอดใส่เข้าไปค้ำจุนหลอดเลือดตีบที่ถูกขยายออกไม่ให้ยุบติดเหมือนเดิมโดยสามารถใช้ได้กับหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดต้นขา หลอดไต แต่ที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือหลอดเลือดหัวใจโดยหลักการแล้วการถ่างขยายหลอดเลือดใส่สเต็นท์ (Angioplasty) การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยสเต็นท์ เป็นการรักษาทางเลือกที่สำคัญอย่างหนึ่งของอวัยวะที่ขาดเลือดจากการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะนั้น

วิธีการใส่สเต็นท์ รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การใส่ส่วนมากจะทำภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ และการให้ยานอนหลับอย่างอ่อน ซึ่งในบางกรณีผู้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถกลับบ้านได้ภายในวันนั้น แต่บางกรณีก็ต้องนอนพักในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาสั้นๆ

โดยเริ่มแรกแพทย์จะกรีดมีดเป็นแผลเล็กๆ ที่บริเวณผิวหนังเหนือหลอดเลือดแดงที่ขาหรือแขน แล้วใช้เข็มเจาะหลอดเลือดแดง เมื่อเจาะเข้าแล้ว เขาก็ใส่ลวดนำวิถี (guide wire) ขนาดเล็กๆ เข้าไปในหลอดเลือดแดง แล้วตามด้วยการใส่หลอดเล็กๆ (catheter) ไปตามลวดน้ำวิถี (โดยต้องใช้เอกซเรย์ช่วยจึงมองเห็น) หลอดเล็กๆ นี้จะถูกเคลี่อนไปยังจุดตีบของหลอดเลือดที่ต้องการรักษา เมื่อฉีดสารทึบรังสีเล็กน้อยจะทำให้ผู้ทำหัตถการเห็นได้ว่าบริเวณตีบอยู่ตรงไหน เพื่อที่เขาจะได้ใส่ลวดน้ำวิถึให้ผ่านจุดตีบไปแล้วใส่บอนลูน เข้าไปถ่างขยายบริเวณที่ตีบนั้น จากนั้นเขาจะใส่หลอดตาข่ายสเต็นท์ที่หุบตัวอยู่รอบบอนลูนออกก็จะทำให้หลอดตาข่ายสเต็นท์บานออก มีโครงร่างเป็นหลอดแล้วคงตัวค้างอยู่อย่างนั้น เพื่อค้ำจุนหลอดเลือดตีบที่เคยถ่างขยายเอาไว้ก่อนหน้านี้หลังจากนั้นก็เอาเครื่องมืออกแล้วทำการปิดแผล

จะเห็นว่าหัตถการนี้เป็นหัตถการเล็กๆ ไม่ต้องผ่าดัดหัวใจแบบเปิดหน้าอกแล้วทำการต่อหลอดเลือดให้ไหลเข้าหลอดเลือดแดงหัวใจ (coronary artery) อ้อมบริเวณที่ตีบตัน ที่เขาเรียกกันว่าการทำบายพาส (bypass หรือ coronary bypass)

ข้อบ่งชี้ว่าต้องทำสเต็นท์
โรคส่วนใหญ่ถ้ารักษาทางยาได้ผลก็ไม่ควรทำการผ่าตัดซึ่งมีความเสี่ยง การทำหัตถการต่างๆ จึงต้องมีเหตุผลหรือข้อบ่งชี้ สำหรับบ่งชี้ในการผ่าตัดทำบายพาส หรือการใส่สเต็นท์หลอดเลือดหัวใจก็คือ

  • การปรับเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่หรือการรักษาทางยาไม่ได้ผลในการลดอาการเจ็บหน้าอกจาก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ป่วยเกิดหัวใจล้มเหลวเฉียบพลับ
  • อาการเจ็บหน้าอกเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

บายพาสหรือใส่สเต็นท์
ส่วนการจะเลือกว่าต้องทำการผ่าตัดบายพาสหรือใส่สเต็นท์นั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับการตีบของหลอดเลือดหัวใจว่าอยู่ตรงไหน เป็นมากแค่ไหน และมีจำนวนจุดที่ตีบมากแค่ไหน โดยสุขภาพก็มีความสำคัญในการตัดสินใจเช่นกัน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะมีความเหมาะสมในการใส่สเต็นท์ก็ต่อเมื่อ

  • บริเวณที่หลอดเลือดหัวใจตีบมีระยะทางสั้น และมีจุดที่ตีบจำนวนน้อย
  • หลอดเลือดที่ตีบไม่ใช่หลอดเลือดหัวใจใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจด้านซ้าน (left main coronary artery)
  • ผู้ป่วยไม่มีอาการของหัวใจวาย
  • ผู้ป่วยสามารถกันยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือดได้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ระยะเวลาในการพักฟื้น

ตามที่กล่าวมา การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจใส่สเต็นท์เป็นการทำหัตถการที่ไม่ต้องดมยาสลมไม่ต้องเสี่ยงทำให้หัวใจหยุดเต้นแล้วใส่ปั๊ม ซึ่งเป็นการทำหัตถการใหญ่ มีความเสี่ยงมากว่าการใส่สเต็นท์ ทำให้การพักฟื้นจากการใส่สเต็นท์รวดเร็วกว่า

อย่างไรก็ดี สเต็นท์มี 2 ชนิดคือ สเต็นท์เคลือบยา (drug-eluting stent) และสเต็นท์เคลือบโลหะที่ไม่มียาเคลือบ(bare-metal stent) ซึ่งส่วนมากการใส่สเต็นท์มักจะใช้แบบเคลือบยา โดยยาที่เคลือบจะค่อยๆ ละลายออกมาทำหน้าที่ป้องกันการเกิดแผลเป็นที่จะงอกเข้ามาในหลอดสเต็นท์ ซึ่งจะทำให้สเต็นท์ตีบตัน ซึ่งต้องทำการถ่างขยายซ้ำใหม่ ด้วยเหตุนี้การใช้สเต็นท์เคลือบยาจึงมีอัตราการทำหัตถกรรมซ้ำต่ำกว่าการใช้สเต็นท์โลหะที่ไม่มียาเคลือกประมาณร้อยละ 5-15

แต่ก็ไม่ใช่ว่าพอใส่พเต็นท์แล้วจะสบาย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจำเป็นต้องกินยาต้านการแข็งตัวของเลือดดังนี้

  • กินยาแอสไพรินทุกวันตลอดชีวิต
  • ต้องกินยาต้องการทำงานของเกล็ดเลือดคือ clopidogrel (Plavix) หรือ prasugrel (Effient) โดยคนที่ใส่สเต็นท์เคลือบยาต้องกินยานี้นาน 1 ปี ส่วนคนที่ใส่สเต็นท์ชนิดโลหะไม่เคลือบบาต้องกินนาน 1 เดือน สาเหตุที่ทำให้ระยะเวลาในการกินยาต่างกันก็เนื่องจากระยะเวลาการหายของแผลที่แตกต่างกัน โดยการใส่สเต็นท์โลหะแผลจะหายเร็วกว่าสเต็นท์แบบเคลือบยา

จะเห็นว่า แม้การถ่างขยายหลอดเลือดด้วยการใส่สเต็นท์จะทำให้เกิดการบาดเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดบายพาสแต่ก็จำเป็นต้องกินยาเฝ้าระวังไปตลอดชีวิต ดังนั้นถ้าเราหันมาควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และลดความเคลียดตั้งแต่วันนี้ ก็คงไม่ต้องพึ่งพาการใส่สเต็นท์ให้ยุ่งยากอีกต่อไป



ทีมา Health Today

อาการมะเร็งรังไข่ ควรพบหมอด่วน

อาการมะเร็งรังไข่

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้หญิงรอดชีวิตจากมะเร็งรังไข่ คือ การพบโรคร้ายตั้งแต่ระยะแรกๆ จากการสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง ซึ่ง แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุขโข สูติ-นรีแพทย์และหัวหน้าแผนกสูติกรรม ได้แนะนำวิธีสังเกตุอาการมะเร็งรังไข่ไว้ในหนังสือชุดโรคภัยใกล้ตัว ต้านมะเร็งรังไข่ ดังต่อไปนี้

1. เบื่ออาหารหรืออิ่มเร็ว
เพราะมะเร็งเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ในรังไข่ จึงไปกดทับกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือมะเร็งรังไข่ผลิตน้ำออกมาในช่องท้อง จึงทำให้เบื่ออาหารหรืออิ่มเร็ว

2. ปวดท้องน้อย ท้องอืด จุกเสือด หรือปวดทั่วท้องเป็นประจำ

3. ท้องโตขึ้น ท้องน้อยนูนขึ้น
ลักษณะคล้ายคนท้องหรือมีพุงแม้ว่าจะกินน้อย เพราะมะเร็งเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ในรังไข่ หรือมะเร็งรังไข่ผลิตน้ำออกมาในช่องท้อง

4. ปัสสาวะผิดปกติ
มีอาการแสบขัดบ่อยครั้ง และรู้สึกปัสสาวะไม่สุด เพราะก้อนมะเร็งรังไข่ไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ

5. ปวดหลังมาก
ใบบางคนอาจจะเดินหรือนั่งไม่ไหว เพราะมะเร็งรังไข่ไปรบกวนการทำงานของเส้นประสาทบริเวณหลัง

6. ท้องผูกเรื้อรัง
ขับถ่ายไม่สะดวก จนทำให้ตัวร้อนคล้ายเป็นไข้เพราะมะเร็งรังไข่กดทับสำไส้ใหญ่หรือกระจายไปยังสำไส้ใหญ่

7. ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย
หรือมากครั้งละมากๆ เป็นเวลานานเพราะมะเร็งรังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศไปรบกวนการทำงานของรังไข่

8. หากเป็นมะเร็งรังไข่นานมากๆ
จะเกิดอาการอ่อนเพลียรุนแรงตัวซีด หายใจเหนื่อยหอบ เจ็บในอก ตาเหลือง ตัวเหลือง และมีอาการผิดปกติอื่นๆ แล้วแต่พื้นฐานสุขภาพของผู้ป่วย

การตรวจพบมะเร็งรังไข่

ทั้งนี้ ผู้หญิงควรสังเกตความผิดปกติของร่างกายโดยละเอียด หากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย เพราะการตรวจพบมะเร็งรังไข่แต่เนิ่นๆ และเข้ารับการรักษาในทันที จะช่วยให้ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 90 มีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปี หลังเข้ารับการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์

คุณหมอชัญวลีฝากทิ้งท้ายว่า คนป่วยมะเร็งรังไข่ ร้อยละ 80 มาพบแพทย์เมื่อเป็นมะเร็งระยะหลังๆ หรือลุกลามไปที่อวัยวะอื่นๆแล้ว ส่วนใหญ่บอกว่าเพราะแค่มีอาการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ จึงไม่สนใจดูแล ไม่รู้ว่าเป็นอาการของมะเร็งรังไข่

ที่มา หนังสือชีวิจิต

เบาหวาน การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวาน การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetes Mellitus)

คือ ภาวะที่ร่ายการขาดอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โทนชนิดหนึ่งที่หลั่งจากตับอ่อน อินซูลินมีหน้าที่ในการนำกลูโคสในเลือดเข้าสู่เซลล์และเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ดังนั้นในภาวะที่ร่ายกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น
เบาหวานแบ่งเป็น 2 ชนิดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อินซูลินหรืออายุเริ่มเป็นเบาหวาน

  • เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นเมื่ออายุยังน้อยและต้องใช้อินซูลินฉีด
  • เบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 40 ปี และอาจให้การรักษาได้หลายวิธีนอกเหนือจากการฉีดอินซูลิน

อาการผู้ป่วยเบาหวาน

  • หิวบ่อย อยากอาหารมากขี้น
  • กระหายน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อย
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • ปริมาณปัสสาวะมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน

  • ประวัติครอบครัวมีโรคเบาหวาน
  • น้ำหนักเกิน
  • ปัสสาวะบ่อย
  • เคยมีประวัติของโรคเหล่านี้
    • ความดันโลหิตสูง
    • ระดับคอเลสเตอรอลสูง
    • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • เบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • ตาบอด
    • ไตวาย
    • แผลหายยาก
    • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

  • ออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ปกติ ควรปรีกษาแพทย์ก่อนเพื่อเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่จะใช้เป็นประจำ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที พกลูกอมหรือน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลเผื่อไว้รับประทานในกรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในขณะที่ออกกำลังกาย
  • ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรจสูง
  • รับประทานอาหารที่มีเส้นใย เช่น ผักและธัญพืช ให้มากขึ้น
  • ห้ามอดอาหารหรือรับประทานอาหารช้ากว่าเวลาประจำ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ขึ้นๆ ลดๆ
  • ลดการรับประทานเกลือ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง
  • ตรวจร่ายการอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบาดแผลหรือการติดเชื้อที่หายช้ากว่าปกติ ควรล้างและตรวจสอบเท้าทุกวันสังเกตว่ามีแผลขนาดเล็ก แผลกดทับหรือไม่
  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดหรือในปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ
  • ในบางครั้งผู้ป่วยเบาหวานอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมาก ทั้งนี้อาจมาจากผลของยาเบาหวานหรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ อาการทีเกิดคือ สั่น เวียนศีรษะ เหงื่อออก หิว ผู้ป่วยจึงควรพกน้ำตาลหรือกลูโคส เช่น ก้อนน้ำตาลน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลไว้รับประทาน ในกรณีเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างเฉียบพลัน
  • หมั่นตรวจและดูแลผิวหนังทุกวัน (เวลาเย็นเป็นเวลาดี) และตรวจดูสภาพเท้าด้วย
  • ล้างเท้าด้วยน้ำเปล่าวันละ 2 ครั้ง และซับให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว ไม่ควรใช้แปรงที่มีขนแข็งขัดเท้า และใช้แป้งโรยไม่ให้ผิวหนังชื่นไป


ที่มา Health Today

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes