การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยสเต็นท์
รู้จักสเต็นท์
สเต็นท์เป็นหลอดตาข่ายเล็กๆ ที่ใช้สอดใส่เข้าไปค้ำจุนหลอดเลือดตีบที่ถูกขยายออกไม่ให้ยุบติดเหมือนเดิมโดยสามารถใช้ได้กับหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดต้นขา หลอดไต แต่ที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือหลอดเลือดหัวใจโดยหลักการแล้วการถ่างขยายหลอดเลือดใส่สเต็นท์ (Angioplasty) การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยสเต็นท์ เป็นการรักษาทางเลือกที่สำคัญอย่างหนึ่งของอวัยวะที่ขาดเลือดจากการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะนั้น
วิธีการใส่สเต็นท์ รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
การใส่ส่วนมากจะทำภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ และการให้ยานอนหลับอย่างอ่อน ซึ่งในบางกรณีผู้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถกลับบ้านได้ภายในวันนั้น แต่บางกรณีก็ต้องนอนพักในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาสั้นๆโดยเริ่มแรกแพทย์จะกรีดมีดเป็นแผลเล็กๆ ที่บริเวณผิวหนังเหนือหลอดเลือดแดงที่ขาหรือแขน แล้วใช้เข็มเจาะหลอดเลือดแดง เมื่อเจาะเข้าแล้ว เขาก็ใส่ลวดนำวิถี (guide wire) ขนาดเล็กๆ เข้าไปในหลอดเลือดแดง แล้วตามด้วยการใส่หลอดเล็กๆ (catheter) ไปตามลวดน้ำวิถี (โดยต้องใช้เอกซเรย์ช่วยจึงมองเห็น) หลอดเล็กๆ นี้จะถูกเคลี่อนไปยังจุดตีบของหลอดเลือดที่ต้องการรักษา เมื่อฉีดสารทึบรังสีเล็กน้อยจะทำให้ผู้ทำหัตถการเห็นได้ว่าบริเวณตีบอยู่ตรงไหน เพื่อที่เขาจะได้ใส่ลวดน้ำวิถึให้ผ่านจุดตีบไปแล้วใส่บอนลูน เข้าไปถ่างขยายบริเวณที่ตีบนั้น จากนั้นเขาจะใส่หลอดตาข่ายสเต็นท์ที่หุบตัวอยู่รอบบอนลูนออกก็จะทำให้หลอดตาข่ายสเต็นท์บานออก มีโครงร่างเป็นหลอดแล้วคงตัวค้างอยู่อย่างนั้น เพื่อค้ำจุนหลอดเลือดตีบที่เคยถ่างขยายเอาไว้ก่อนหน้านี้หลังจากนั้นก็เอาเครื่องมืออกแล้วทำการปิดแผล
จะเห็นว่าหัตถการนี้เป็นหัตถการเล็กๆ ไม่ต้องผ่าดัดหัวใจแบบเปิดหน้าอกแล้วทำการต่อหลอดเลือดให้ไหลเข้าหลอดเลือดแดงหัวใจ (coronary artery) อ้อมบริเวณที่ตีบตัน ที่เขาเรียกกันว่าการทำบายพาส (bypass หรือ coronary bypass)
ข้อบ่งชี้ว่าต้องทำสเต็นท์
โรคส่วนใหญ่ถ้ารักษาทางยาได้ผลก็ไม่ควรทำการผ่าตัดซึ่งมีความเสี่ยง การทำหัตถการต่างๆ จึงต้องมีเหตุผลหรือข้อบ่งชี้ สำหรับบ่งชี้ในการผ่าตัดทำบายพาส หรือการใส่สเต็นท์หลอดเลือดหัวใจก็คือ
- การปรับเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่หรือการรักษาทางยาไม่ได้ผลในการลดอาการเจ็บหน้าอกจาก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ผู้ป่วยเกิดหัวใจล้มเหลวเฉียบพลับ
- อาการเจ็บหน้าอกเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
บายพาสหรือใส่สเต็นท์
ส่วนการจะเลือกว่าต้องทำการผ่าตัดบายพาสหรือใส่สเต็นท์นั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับการตีบของหลอดเลือดหัวใจว่าอยู่ตรงไหน เป็นมากแค่ไหน และมีจำนวนจุดที่ตีบมากแค่ไหน โดยสุขภาพก็มีความสำคัญในการตัดสินใจเช่นกัน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะมีความเหมาะสมในการใส่สเต็นท์ก็ต่อเมื่อ
- บริเวณที่หลอดเลือดหัวใจตีบมีระยะทางสั้น และมีจุดที่ตีบจำนวนน้อย
- หลอดเลือดที่ตีบไม่ใช่หลอดเลือดหัวใจใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจด้านซ้าน (left main coronary artery)
- ผู้ป่วยไม่มีอาการของหัวใจวาย
- ผู้ป่วยสามารถกันยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือดได้
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ระยะเวลาในการพักฟื้น
ตามที่กล่าวมา การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจใส่สเต็นท์เป็นการทำหัตถการที่ไม่ต้องดมยาสลมไม่ต้องเสี่ยงทำให้หัวใจหยุดเต้นแล้วใส่ปั๊ม ซึ่งเป็นการทำหัตถการใหญ่ มีความเสี่ยงมากว่าการใส่สเต็นท์ ทำให้การพักฟื้นจากการใส่สเต็นท์รวดเร็วกว่าอย่างไรก็ดี สเต็นท์มี 2 ชนิดคือ สเต็นท์เคลือบยา (drug-eluting stent) และสเต็นท์เคลือบโลหะที่ไม่มียาเคลือบ(bare-metal stent) ซึ่งส่วนมากการใส่สเต็นท์มักจะใช้แบบเคลือบยา โดยยาที่เคลือบจะค่อยๆ ละลายออกมาทำหน้าที่ป้องกันการเกิดแผลเป็นที่จะงอกเข้ามาในหลอดสเต็นท์ ซึ่งจะทำให้สเต็นท์ตีบตัน ซึ่งต้องทำการถ่างขยายซ้ำใหม่ ด้วยเหตุนี้การใช้สเต็นท์เคลือบยาจึงมีอัตราการทำหัตถกรรมซ้ำต่ำกว่าการใช้สเต็นท์โลหะที่ไม่มียาเคลือกประมาณร้อยละ 5-15
แต่ก็ไม่ใช่ว่าพอใส่พเต็นท์แล้วจะสบาย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจำเป็นต้องกินยาต้านการแข็งตัวของเลือดดังนี้
- กินยาแอสไพรินทุกวันตลอดชีวิต
- ต้องกินยาต้องการทำงานของเกล็ดเลือดคือ clopidogrel (Plavix) หรือ prasugrel (Effient) โดยคนที่ใส่สเต็นท์เคลือบยาต้องกินยานี้นาน 1 ปี ส่วนคนที่ใส่สเต็นท์ชนิดโลหะไม่เคลือบบาต้องกินนาน 1 เดือน สาเหตุที่ทำให้ระยะเวลาในการกินยาต่างกันก็เนื่องจากระยะเวลาการหายของแผลที่แตกต่างกัน โดยการใส่สเต็นท์โลหะแผลจะหายเร็วกว่าสเต็นท์แบบเคลือบยา
จะเห็นว่า แม้การถ่างขยายหลอดเลือดด้วยการใส่สเต็นท์จะทำให้เกิดการบาดเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดบายพาสแต่ก็จำเป็นต้องกินยาเฝ้าระวังไปตลอดชีวิต ดังนั้นถ้าเราหันมาควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และลดความเคลียดตั้งแต่วันนี้ ก็คงไม่ต้องพึ่งพาการใส่สเต็นท์ให้ยุ่งยากอีกต่อไป
ทีมา Health Today