การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยสเต็นท์

รู้จักสเต็นท์
สเต็นท์เป็นหลอดตาข่ายเล็กๆ ที่ใช้สอดใส่เข้าไปค้ำจุนหลอดเลือดตีบที่ถูกขยายออกไม่ให้ยุบติดเหมือนเดิมโดยสามารถใช้ได้กับหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดต้นขา หลอดไต แต่ที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือหลอดเลือดหัวใจโดยหลักการแล้วการถ่างขยายหลอดเลือดใส่สเต็นท์ (Angioplasty) การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยสเต็นท์ เป็นการรักษาทางเลือกที่สำคัญอย่างหนึ่งของอวัยวะที่ขาดเลือดจากการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะนั้น

วิธีการใส่สเต็นท์ รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การใส่ส่วนมากจะทำภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ และการให้ยานอนหลับอย่างอ่อน ซึ่งในบางกรณีผู้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถกลับบ้านได้ภายในวันนั้น แต่บางกรณีก็ต้องนอนพักในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาสั้นๆ

โดยเริ่มแรกแพทย์จะกรีดมีดเป็นแผลเล็กๆ ที่บริเวณผิวหนังเหนือหลอดเลือดแดงที่ขาหรือแขน แล้วใช้เข็มเจาะหลอดเลือดแดง เมื่อเจาะเข้าแล้ว เขาก็ใส่ลวดนำวิถี (guide wire) ขนาดเล็กๆ เข้าไปในหลอดเลือดแดง แล้วตามด้วยการใส่หลอดเล็กๆ (catheter) ไปตามลวดน้ำวิถี (โดยต้องใช้เอกซเรย์ช่วยจึงมองเห็น) หลอดเล็กๆ นี้จะถูกเคลี่อนไปยังจุดตีบของหลอดเลือดที่ต้องการรักษา เมื่อฉีดสารทึบรังสีเล็กน้อยจะทำให้ผู้ทำหัตถการเห็นได้ว่าบริเวณตีบอยู่ตรงไหน เพื่อที่เขาจะได้ใส่ลวดน้ำวิถึให้ผ่านจุดตีบไปแล้วใส่บอนลูน เข้าไปถ่างขยายบริเวณที่ตีบนั้น จากนั้นเขาจะใส่หลอดตาข่ายสเต็นท์ที่หุบตัวอยู่รอบบอนลูนออกก็จะทำให้หลอดตาข่ายสเต็นท์บานออก มีโครงร่างเป็นหลอดแล้วคงตัวค้างอยู่อย่างนั้น เพื่อค้ำจุนหลอดเลือดตีบที่เคยถ่างขยายเอาไว้ก่อนหน้านี้หลังจากนั้นก็เอาเครื่องมืออกแล้วทำการปิดแผล

จะเห็นว่าหัตถการนี้เป็นหัตถการเล็กๆ ไม่ต้องผ่าดัดหัวใจแบบเปิดหน้าอกแล้วทำการต่อหลอดเลือดให้ไหลเข้าหลอดเลือดแดงหัวใจ (coronary artery) อ้อมบริเวณที่ตีบตัน ที่เขาเรียกกันว่าการทำบายพาส (bypass หรือ coronary bypass)

ข้อบ่งชี้ว่าต้องทำสเต็นท์
โรคส่วนใหญ่ถ้ารักษาทางยาได้ผลก็ไม่ควรทำการผ่าตัดซึ่งมีความเสี่ยง การทำหัตถการต่างๆ จึงต้องมีเหตุผลหรือข้อบ่งชี้ สำหรับบ่งชี้ในการผ่าตัดทำบายพาส หรือการใส่สเต็นท์หลอดเลือดหัวใจก็คือ

  • การปรับเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่หรือการรักษาทางยาไม่ได้ผลในการลดอาการเจ็บหน้าอกจาก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ป่วยเกิดหัวใจล้มเหลวเฉียบพลับ
  • อาการเจ็บหน้าอกเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

บายพาสหรือใส่สเต็นท์
ส่วนการจะเลือกว่าต้องทำการผ่าตัดบายพาสหรือใส่สเต็นท์นั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับการตีบของหลอดเลือดหัวใจว่าอยู่ตรงไหน เป็นมากแค่ไหน และมีจำนวนจุดที่ตีบมากแค่ไหน โดยสุขภาพก็มีความสำคัญในการตัดสินใจเช่นกัน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะมีความเหมาะสมในการใส่สเต็นท์ก็ต่อเมื่อ

  • บริเวณที่หลอดเลือดหัวใจตีบมีระยะทางสั้น และมีจุดที่ตีบจำนวนน้อย
  • หลอดเลือดที่ตีบไม่ใช่หลอดเลือดหัวใจใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจด้านซ้าน (left main coronary artery)
  • ผู้ป่วยไม่มีอาการของหัวใจวาย
  • ผู้ป่วยสามารถกันยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือดได้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ระยะเวลาในการพักฟื้น

ตามที่กล่าวมา การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจใส่สเต็นท์เป็นการทำหัตถการที่ไม่ต้องดมยาสลมไม่ต้องเสี่ยงทำให้หัวใจหยุดเต้นแล้วใส่ปั๊ม ซึ่งเป็นการทำหัตถการใหญ่ มีความเสี่ยงมากว่าการใส่สเต็นท์ ทำให้การพักฟื้นจากการใส่สเต็นท์รวดเร็วกว่า

อย่างไรก็ดี สเต็นท์มี 2 ชนิดคือ สเต็นท์เคลือบยา (drug-eluting stent) และสเต็นท์เคลือบโลหะที่ไม่มียาเคลือบ(bare-metal stent) ซึ่งส่วนมากการใส่สเต็นท์มักจะใช้แบบเคลือบยา โดยยาที่เคลือบจะค่อยๆ ละลายออกมาทำหน้าที่ป้องกันการเกิดแผลเป็นที่จะงอกเข้ามาในหลอดสเต็นท์ ซึ่งจะทำให้สเต็นท์ตีบตัน ซึ่งต้องทำการถ่างขยายซ้ำใหม่ ด้วยเหตุนี้การใช้สเต็นท์เคลือบยาจึงมีอัตราการทำหัตถกรรมซ้ำต่ำกว่าการใช้สเต็นท์โลหะที่ไม่มียาเคลือกประมาณร้อยละ 5-15

แต่ก็ไม่ใช่ว่าพอใส่พเต็นท์แล้วจะสบาย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจำเป็นต้องกินยาต้านการแข็งตัวของเลือดดังนี้

  • กินยาแอสไพรินทุกวันตลอดชีวิต
  • ต้องกินยาต้องการทำงานของเกล็ดเลือดคือ clopidogrel (Plavix) หรือ prasugrel (Effient) โดยคนที่ใส่สเต็นท์เคลือบยาต้องกินยานี้นาน 1 ปี ส่วนคนที่ใส่สเต็นท์ชนิดโลหะไม่เคลือบบาต้องกินนาน 1 เดือน สาเหตุที่ทำให้ระยะเวลาในการกินยาต่างกันก็เนื่องจากระยะเวลาการหายของแผลที่แตกต่างกัน โดยการใส่สเต็นท์โลหะแผลจะหายเร็วกว่าสเต็นท์แบบเคลือบยา

จะเห็นว่า แม้การถ่างขยายหลอดเลือดด้วยการใส่สเต็นท์จะทำให้เกิดการบาดเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดบายพาสแต่ก็จำเป็นต้องกินยาเฝ้าระวังไปตลอดชีวิต ดังนั้นถ้าเราหันมาควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และลดความเคลียดตั้งแต่วันนี้ ก็คงไม่ต้องพึ่งพาการใส่สเต็นท์ให้ยุ่งยากอีกต่อไป



ทีมา Health Today

อาการมะเร็งรังไข่ ควรพบหมอด่วน

อาการมะเร็งรังไข่

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้หญิงรอดชีวิตจากมะเร็งรังไข่ คือ การพบโรคร้ายตั้งแต่ระยะแรกๆ จากการสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง ซึ่ง แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุขโข สูติ-นรีแพทย์และหัวหน้าแผนกสูติกรรม ได้แนะนำวิธีสังเกตุอาการมะเร็งรังไข่ไว้ในหนังสือชุดโรคภัยใกล้ตัว ต้านมะเร็งรังไข่ ดังต่อไปนี้

1. เบื่ออาหารหรืออิ่มเร็ว
เพราะมะเร็งเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ในรังไข่ จึงไปกดทับกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือมะเร็งรังไข่ผลิตน้ำออกมาในช่องท้อง จึงทำให้เบื่ออาหารหรืออิ่มเร็ว

2. ปวดท้องน้อย ท้องอืด จุกเสือด หรือปวดทั่วท้องเป็นประจำ

3. ท้องโตขึ้น ท้องน้อยนูนขึ้น
ลักษณะคล้ายคนท้องหรือมีพุงแม้ว่าจะกินน้อย เพราะมะเร็งเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ในรังไข่ หรือมะเร็งรังไข่ผลิตน้ำออกมาในช่องท้อง

4. ปัสสาวะผิดปกติ
มีอาการแสบขัดบ่อยครั้ง และรู้สึกปัสสาวะไม่สุด เพราะก้อนมะเร็งรังไข่ไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ

5. ปวดหลังมาก
ใบบางคนอาจจะเดินหรือนั่งไม่ไหว เพราะมะเร็งรังไข่ไปรบกวนการทำงานของเส้นประสาทบริเวณหลัง

6. ท้องผูกเรื้อรัง
ขับถ่ายไม่สะดวก จนทำให้ตัวร้อนคล้ายเป็นไข้เพราะมะเร็งรังไข่กดทับสำไส้ใหญ่หรือกระจายไปยังสำไส้ใหญ่

7. ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย
หรือมากครั้งละมากๆ เป็นเวลานานเพราะมะเร็งรังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศไปรบกวนการทำงานของรังไข่

8. หากเป็นมะเร็งรังไข่นานมากๆ
จะเกิดอาการอ่อนเพลียรุนแรงตัวซีด หายใจเหนื่อยหอบ เจ็บในอก ตาเหลือง ตัวเหลือง และมีอาการผิดปกติอื่นๆ แล้วแต่พื้นฐานสุขภาพของผู้ป่วย

การตรวจพบมะเร็งรังไข่

ทั้งนี้ ผู้หญิงควรสังเกตความผิดปกติของร่างกายโดยละเอียด หากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย เพราะการตรวจพบมะเร็งรังไข่แต่เนิ่นๆ และเข้ารับการรักษาในทันที จะช่วยให้ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 90 มีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปี หลังเข้ารับการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์

คุณหมอชัญวลีฝากทิ้งท้ายว่า คนป่วยมะเร็งรังไข่ ร้อยละ 80 มาพบแพทย์เมื่อเป็นมะเร็งระยะหลังๆ หรือลุกลามไปที่อวัยวะอื่นๆแล้ว ส่วนใหญ่บอกว่าเพราะแค่มีอาการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ จึงไม่สนใจดูแล ไม่รู้ว่าเป็นอาการของมะเร็งรังไข่

ที่มา หนังสือชีวิจิต

เบาหวาน การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวาน การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetes Mellitus)

คือ ภาวะที่ร่ายการขาดอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โทนชนิดหนึ่งที่หลั่งจากตับอ่อน อินซูลินมีหน้าที่ในการนำกลูโคสในเลือดเข้าสู่เซลล์และเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ดังนั้นในภาวะที่ร่ายกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น
เบาหวานแบ่งเป็น 2 ชนิดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อินซูลินหรืออายุเริ่มเป็นเบาหวาน

  • เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นเมื่ออายุยังน้อยและต้องใช้อินซูลินฉีด
  • เบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 40 ปี และอาจให้การรักษาได้หลายวิธีนอกเหนือจากการฉีดอินซูลิน

อาการผู้ป่วยเบาหวาน

  • หิวบ่อย อยากอาหารมากขี้น
  • กระหายน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อย
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • ปริมาณปัสสาวะมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน

  • ประวัติครอบครัวมีโรคเบาหวาน
  • น้ำหนักเกิน
  • ปัสสาวะบ่อย
  • เคยมีประวัติของโรคเหล่านี้
    • ความดันโลหิตสูง
    • ระดับคอเลสเตอรอลสูง
    • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • เบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • ตาบอด
    • ไตวาย
    • แผลหายยาก
    • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

  • ออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ปกติ ควรปรีกษาแพทย์ก่อนเพื่อเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่จะใช้เป็นประจำ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที พกลูกอมหรือน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลเผื่อไว้รับประทานในกรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในขณะที่ออกกำลังกาย
  • ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรจสูง
  • รับประทานอาหารที่มีเส้นใย เช่น ผักและธัญพืช ให้มากขึ้น
  • ห้ามอดอาหารหรือรับประทานอาหารช้ากว่าเวลาประจำ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ขึ้นๆ ลดๆ
  • ลดการรับประทานเกลือ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง
  • ตรวจร่ายการอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบาดแผลหรือการติดเชื้อที่หายช้ากว่าปกติ ควรล้างและตรวจสอบเท้าทุกวันสังเกตว่ามีแผลขนาดเล็ก แผลกดทับหรือไม่
  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดหรือในปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ
  • ในบางครั้งผู้ป่วยเบาหวานอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมาก ทั้งนี้อาจมาจากผลของยาเบาหวานหรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ อาการทีเกิดคือ สั่น เวียนศีรษะ เหงื่อออก หิว ผู้ป่วยจึงควรพกน้ำตาลหรือกลูโคส เช่น ก้อนน้ำตาลน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลไว้รับประทาน ในกรณีเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างเฉียบพลัน
  • หมั่นตรวจและดูแลผิวหนังทุกวัน (เวลาเย็นเป็นเวลาดี) และตรวจดูสภาพเท้าด้วย
  • ล้างเท้าด้วยน้ำเปล่าวันละ 2 ครั้ง และซับให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว ไม่ควรใช้แปรงที่มีขนแข็งขัดเท้า และใช้แป้งโรยไม่ให้ผิวหนังชื่นไป


ที่มา Health Today

นิ่วในถุงน้ำดี อาการนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี อาการนิ่วในถุงน้ำดี

การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่พบบ่อยคือประมาณ 10-15% ของพลเมือง แต่ประมาณ 75% ของคนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีจะไม่มีอาการ จำไม่ต้องทำการรักษาใดๆ

น้ำดี และ ถุงน้ำดี
ถุงน้ำดีเป็นถุงเล็กๆ ขนาดประมาณไข่เป็ดตั้งอยู่ใต้ตับ ซึ่งอยู่ทางด้านขวาในท้องของเรา เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำดีที่ผลิตโดยตับ และส่งมาทางท่าน้ำดีเวลาเรากินอาหารโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันหรือเนื้อสัตว์ถุงน้ำดีจะบีบตัวส่งน้ำดีเข้าสู่สำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อไปผสมกับอาหาร และทำการย่อยไขมัน นอกจากนี้น้ำดียังทำหน้าที่กำจัดของเสียที่ออกมาจากตับ และกำจัดคอเลสเตอรอลออกร่ายกาย

นิ่วคอเลสเตอรอล
มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดนิ่ว บางปัจจัยไม่รู้แน่ชัดแต่ปัจจัยหนึ่งที่เรารู้กันดีว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วคือ จำนวนคอเลสเตอรอลในน้ำดีที่มากเกินไป โดยปกติน้ำดีจะมีสารเคมีหลายอย่างในปริมาณที่เพียงพอและสมดุลที่จะทำให้คอเลสเตอรอลอยู่ในรุปของสารละลายแล้วหลั่งออกไปจากตับ แต่ถ้าในน้ำดีมีคอเลสเตอรอลมากเกินกว่าที่จะละลายหมด ก็จะก่อตัวขึ้นเป็นก้อนนิ่ว นอกจากนี้ในกรณีที่ถุงน้ำดีไม่บีบตัวขับน้ำดีเป็นเวลานาน เช่น เวลาอดอาหาร คอเลสตอรอลในน้ำดีจะมีความเข้มข้นมากขึ้น จะทำให้เกิดก้อนนิ้วเล็กๆขึ้นได้ ซึ่งนิ่วคอเลสเตอรอลนี้มักมีสีเหลือง และเป็นนิ่วชนิดที่พบมากที่สุด
ปัจจัยอื่นที่ทำให้ความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง หรือถุงน้ำดีบีบตัวน้อยลงอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วคอเลสเตอรอล

  • เพศหญิ่ง เพราะฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ไม่ว่าจะเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติหรือที่มีอยู่ในยา เช่น ยาคุมกำเนิด มีฤทธิ์ทำให้คอเลสเตอรอลถูกขับออกมาท่างน้ำดีมากขึ้น
  • ภาวะน้ำหนักเกิด หรือ โรคอ้วน
  • ภาวะตั้งครรภ์
  • อายุมาก
  • กินอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูง และมีกากไยอาหารต่ำ
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว โดยการลดอาหารเร็วมากเกินไป
  • มีประวัติการเป็นนิ่วในครอบครัว

อาการนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีส่วนมากมักจะนอนนิ่งอยู่ในส่วนต่ำของถุงน้ำดีและไม่ทำให้เกิดอาการ จึงไม่ต้องทำการรักษาใดๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อถุงน้ำดีบีบตัวเพื่อขับน้ำดีสู่ลำไส้เล็ก นิ่วจะถูกขับเคลื่อนไปกับน้ำดีไปสู่ปากทางออกของถูงน้ำดี นิ่วจึงอาจไปอุดกั้นปากทางออก ทำให้เกิดอาการปวดท้องด้านบนขวาขึ้นมาทันที ความปวดนี้บางคนเป็นน้อยแค่รู้สึกเหมือนท้องอืดจากอาหารไม่ย่อย แต่บางคนเป็นมากจนตัวโก่ง ปวดร้าวไปที่สุบักหรือใต้ไหล่ข้างเดียวกัน

บางกรณีนิ่วอุดกั้นทางออกถุงน้ำดีดังกล่าวอาจจะตกลงมาในถุงน้ำดีใหม่ ทำให้หายอุดตัน หายปวดท้องเอง แต่บางกรณีนิ่วในถุงน้ำดีอาจจะเคลื่อนตัวไปมากกว่านั้น และไปอุดตันท่อของถุงน้ำดี หรือท่อน้ำดีร่วมจากตับ ทำให้เกิดการอักเสบของถุงน้ำดี และหรือตับอ่อนอักเสบ ทำให้น้ำดีจากตับถูกอุดกั้น เป็นผลให้เกิดอาการแสดงมากขึ้นดังนี้
  • ไข้สูงและหนาวสั่น
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง และคันตามตัว
  • ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม
  • อุจจระสีซีด

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี
ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้องจากนิ่ว แพทย์มักจะแนะนำให้รัษาด้วยการผ่าตัดเอานิ่วและถุงน้ำดีอีกเพราะว่า 70% ของคนที่มีอาการปวดครั้งแรก จะกลับมาเป็นอีกภายใน 2 ปี เนื่องจากถ้าผ่าตัดเอาเฉพาะนิ่วออกโดยไม่ตัดถุงน้ำดีออกด้วย มักจะเกิดนิ่วขึ้นมาอีก

การผ่าตัดถุงน้ำดีส่วนมากไม่ยุ่งยาก และทำได้ 2 วิธีคือ การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องและการผ่าตัดโดยวิธีเปิด

การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง จะทำโดยว่างยาสลบผู้ป่วย แล้วเจาะรู เพื่อใส่กล้องใส่เครื่องมือในการผ่าตัดเข้าไป แล้วเอาถุงน้ำดีพร้อมนิ่วออกมาทางรูที่เจาะไว้ การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะเจ็บแผลน้อย ผู้ป่วยกลับบ้านไปทำงานได้เร็ว

การผ่าตัดโดยวิธีเปิด ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีบางรายอาจจะไม่สามารถผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องได้ เช่น ผ่ายากเพราะมีพังผืดยึด มีการตกเลือดมากจนมองไม่เห็น ก็ต้องเปลี่ยนมาผ่าตัดโดยวิธีเปิด ซึ่งเป็นวิธีที่ทำกันมานานแล้วและได้ผลดี เพียงแต่จะมีแผลใหญ่หน่อย แต่เป็นแผลเดียว และผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีต้องอยู่โรงพยาบาล 2-5 วัน


อย่างไรก็ดี การผ่าตัดทุกชนิดอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะในรายที่ผ่าตัดยาก เนื่องจากมีการอักเสบของถุงน้ำดีมาก หรือมีการอักเสบเรื้อรัง มีพังผืดยึดติดแน่น โดยภาวะแทรกซ้อนที่จำเพาะกับการผ่าตัดถุงน้ำดีคือการบาดเจ็บของท่อน้ำดี และจำทำให้การรักษายุ่งยากต้องอยู่โรงพยาบาลนาน เพราะอาจจะต้องผ่าตัดซ้ำเพื่อแก้ไข โดยทั่วไปการผ่าตัดวิธีเปิดจะมีภาวะแทรกซ้อนแบบที่ว่านี้น้อยกว่าการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง

ที่มา Health Today

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาการโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาการโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

รู้จักโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมักเกิดจากเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้อขึ้นมา และก้อนเนื้อนี้สามารถเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนอาจลุกลามออกไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะข้างเคียง รามถึงแพร่กระจายสู่กระแสโลหิตได้

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า การเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในประเทศไทยอยู่ที่ 5.5 ต่อประชากร 100,000 คน โดยจะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงคือ อยู่อับดับ 7 ของมะเร็งที่พบมากในผู้ชาย ขณะที่ในผู้หญิงจะอยู่ต่ำกว่าอันดับที่ 15

บุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แต่พบว่ามีปัจจัยหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งชนิดนี้ โดยปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ การสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งที่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและขับถ่ายออกทางกระเพาะปัสสาวะได้ การสูบบหรี่จึงทำให้เยื่อบุการะเพาะปัสสาวะสัมผัสกับสารก่อมะเร็งโดยตรง บุหรี่จึงไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงเฉพาะของมะเร็งปอด มะเร็วช่องปากและลำคอ มะเร็งกระเพาะอาหารหรือมะเร็งหลอดอาหารเท่านั้น คงต้องบอกว่าถ้าไม่มีบุหรี่จำหน่ายผู้ป่วยโรงมะเร็งน่าจะลดลงได้เกือบ 50%

ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ก็ยังมีเรื่องของอายุ คือคนที่อายุมากขึ้นก็มีโอกาสเป็น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ขึ้นนอกจากนี้การติดเชื้อเรื้อรังในกระเพาะปัสสาวะก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยที่มีความพิการแต่กำเนิด หรือผู้ป่วยที่ต้องคาสายท่าปัสสาวะเป็นเวลานานๆ ในผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิบางตัวติดต่อกันเป็นสิบๆปี เพราะยาจะถูกขับออกมาในกระเพาะปัสสาวะและอาจจะเป็นพิษต่อผนังเยื่อกระเพาะปัสสาวะได้

อาการโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการปัสสาวะเป็นเลือด บางทีอาจจะนำเอาปัสสาวะมาด้วย เหมือนปัสสาวะไม่สุด วันดีคืนดีก็ปัสสาวะเป็นเลือด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะปัสสาวะเป็นเลือดจะต้องเป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาจจะแค่เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือเป็นนิ่วในไตก็ได้ ขณะเดียวกันปัสสาวะเป็นเลือดยังอาจเป็นอาการของชนิดอื่นด้วย เช่น มะเร็งของไต และกรอยไต เป็นต้น

การวินิจฉัยเพื่อแยกโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมักมาพบแพทย์ช้าเพราะมัวเข้าใจไปว่าเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือติดเชื้อ ดังนั้นสิ่งที่ต้องสังเกตคือถ้ารักษาหายแล้ว อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบยังกลับมาเป็นซ้ำซาก ก็ควรต้องมารับการตรวจเพิ่มเติมมากว่าที่จะแค่รักษาอาการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุมากต้องตระหนักว่ามีโอกาสที่จะเป็นโรคอย่างอื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์ก็จะแนะนำให้ตรวจหาความผิดปกติด้วยวิธีอื่น เช่น การทำอัลตราซาวด์ของไต เพื่อดูว่ามีก้อนเนื้อหรือเปล่า ถ้าไม่เจอก็อาจจะต้องเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด เรียกว่าอย่ารอจนมีการลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงกับกระเพาะปัสสาวะซึ่งจะทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดหน่วงๆที่ก้น เพราะนั้นเป็นอาการโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่ลุกลามแล้ว

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นเมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วจีงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉันและรักษาแต่เนิ่นๆ


ที่มา Health Today

โรคตาแห้ง อาการตาแห้ง

โรคตาแห้ง อาการตาแห้ง วิธีป้องกันและช่วยดูแลดวงตาของคุณ

1. สวมแว่นตากันแดดกรอบใหญ่และแนบใบหน้า
เพราะทั้งลมและแสงแดดล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ตาแห้งมากขึ้น การสวมแว่นที่มีกรอบใหญ่และแนบใบหน้าจึงช่วยป้องกันลมและแสงแดดได้ดีขึ้น

2. หลึกเลี่ยงการอยุ่ในที่ที่มีอากาศแห้ง
ความชื้นต่ำเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาแห้ง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องแอร์ถ้าทำได้ ไม่เช่นนั้นอาจจะต้องติดตั้งเครื่องทำความชื้นเพื่อเพิ่มความชื้นให้กับอากาศภายในห้อง

3. ใช้เวลาอยู่หน้าจอให้หน้อยลง
การใช้ความพิวเตอร์การอ่านหนังสือ หรือการใช้สายตาเพ่งมองในรูปแบบอื่นเป็นเวลานานๆ ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้ตาแห้งทั้งสิ้น ดังนั้นอย่าลืมพักสายตาด้วยการหลับตาพัก 2-3 นาทีบ่อยๆ

4. อย่าให้ลมเป่าหน้า
การอยู่หน้าพัดลม เครื่องปรับอากาศ เครื่องเป่าผม ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิด อาการตาแห้ง ทั้งสิ้น

5. สำรวจยาที่ใช้
ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้คัดจมูก ฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือนยาบางอย่างที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง และยารักษาโรคซึกเศร้า ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการตาแห้ง ดังนั้นหากคุณใช้ยาเหล่านี้อยู่แล้วรู้สึกว่าตาแห้งอาจจะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

6. กรดไขมันโอเมก้า 3
การรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 ไม่าว่าจะทางอาหารหรือทางอาหารเสริมสามารถช่วยป้องกัน อาการตาแห้ง ได้ โดยอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงอย่างเช่น ปลาสวาย ปลาช่อน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

7. ใช้น้ำตาเทียมชนิดน้ำหรือชนิดขึ้ผึ้ง
โดยน้ำตาเที่ยมชนิดน้ำเหมาะที่ใช้ในเวลากลางวัน แต่ต้องหยอดบ่อยๆ ส่วนน้ำตาเทียมชนิดขึ้ผึ้งจะช่วยหล่อลื่น,คงความชุ่มชื้น และช่วยลดอาการตาแห้ง ให้กับดวงตาได้นานกว่าแต่มีลักษณะเหนียว หลังจากป้ายแล้วจะทำให้ตามัวชั่วขณะ ดังนั้นจึงควรใช้ก่อนเข้านอนและใช้ในปริมาณที่น้อย

8. ไปพบแพทย์
เพราะมีโรคบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการตาแห้ง อาทิ ข้ออักเสบ โรคโจเก้น คนที่เปลือกตามีปัญหา และ เบาหวาน การรักษาโรคเหล่านี้จะช่วยให้อาการตาแห้งดีขึ้น

9. หยุดสุบบุหรี่
ควันบุหรี่ทำให้เกิดอาการตาแห้ง จึงควรหยุดสูบบุหรี่รวมถึงหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ของคนอื่นด้วยครับ


ที่มา หนังสือ Health Today

วิธีชะลอความแก่ วิธีชะลอวัย

วิธีชะลอความแก่ วิธีชะลอวัย 5 อ.

อ.อาหาร
โดยหัวใจหลักของอาหารสั้นๆ ง่ายๆ ก็คือ การรับประทานอาหารสด ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง รวมถึงอาหารที่สำใส้สามารถย่อยได้ง่าย และหากเป็นอาหารที่ต้องผ่านการปรุงต้องใช้ความร้อนไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส อย่างการต้ม ตุ๋น นึ่ง ลวก ไม่ใช่อาหารประเภทปิ้ง ย่าง ทอด ผัด ซึ่งใช้ความร้องสูงำให้ไม่มีคุณค่าทางอาหาร แถมยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารอีก 6 อย่าง ซึ่งจะทำให้ร่างกายเป็นกรด ส่งผลให้เซลล์ตาย อวัยวะเสื่อม ติดเชื้อง่าย ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์จากนมสัตว์ เพราะมีคอเลสเตอรอลและมีแคลอรีสูง
  • น้ำตาล ซึ๋งกระตุ้นให้มีการอักเสบ ไขมันอิ่มตัว ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น
  • ไขมันอิ่มตัว คือ ไขมันที่เข้าตู้เย็นและเป็นของแข็ง เมื่อรับประทานเข้าไปก็จะอุดตันหลอดเลือด
  • แอลกอฮอล์ ทำให้สมดุลของโกร์ธฮอร์โมนที่ช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ที่สึกหรอ และเมลาโทนินที่ช่วยให้เรานอนหลับสนิทเสียไป
  • กาเฟอีน กาเฟอีนปริมาณมากจะไปกดฮอร์โมน ซึ่งเป็นเหมือนน้ำมันหล่อลื่นของร่างกาย
  • อาหารสำเร็จรูป พวกไส้กรอก ขนมเค้ก อาหารรมควัน ซึ่งไม่มีคุณค่าทางอาหาร และยังเป็นพิษกับร่างกาย

อ.ออกกำลังกาย
มีผลวิจัยออกมาอย่างชัดเจนว่า ออกกำลังกายช่วยลดฮอร์โมนความเครียดเพิ่มฮอร์โมนความสุข และช่วยลดคอเลสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ควบคุมเบาหวาน ควบคุมเบาหวาน ควบคุมโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยให้นอนหลับ รวมถึงทำให้โกร์ธฮอร์โมนหลั่ง การออกกำลังกายจึงเป็นยาอายุวัฒนะมหัศจรรย์

อ.เอนหลัง
คนเราต้องการเวลานอนหลับ 1 ใน 3 ของชีวิต หรือวันละ 8 ชั่วโมง แต่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนทำงานมักจะนอนไม่หลับ ซึ่งควรแก้ไขด้วยการฝึกสมาธิคิดบวก เพิ่มกำจัดความเครียด ความกัววล แทนที่จะใช้แต่ยานอนหลับ

อ.ออกซิเจน
ควรฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ เพราะเซลล์ของเราต้องการออกซิเจน

อ.อารมณ์
ต้องจำไว้ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" ซึ่งการฝึกสมาธิ และการฝึกหายใจลึกๆ ยาวๆ รวมถึงการคิดบวก จะช่วยปรับอารมณ์ของเราให้มั่งคง หรือถ้ายากไปก็อาจจะแค่ยิ้ม เพราะการยิ้มจะช่วยลดความเครียด ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และอาจจะรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมขอโสม ซึ่งจะช่วยบำรุงจิตใจให้มีสมาธิ และช่วยผ่อนคลายจากความเครียด

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของ วิธีชะลอความแก่ วิธีชะลอวัย


ที่มา การบรรยายหัวข้อ "ชะลอแก่ แค่รู้ทัน" โดย พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน Health Today

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes