เบาหวาน การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
คือ ภาวะที่ร่ายการขาดอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โทนชนิดหนึ่งที่หลั่งจากตับอ่อน อินซูลินมีหน้าที่ในการนำกลูโคสในเลือดเข้าสู่เซลล์และเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ดังนั้นในภาวะที่ร่ายกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น
เบาหวานแบ่งเป็น 2 ชนิดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อินซูลินหรืออายุเริ่มเป็นเบาหวาน
- เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มักเกิดขึ้นเมื่ออายุยังน้อยและต้องใช้อินซูลินฉีด
- เบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 40 ปี และอาจให้การรักษาได้หลายวิธีนอกเหนือจากการฉีดอินซูลิน
อาการผู้ป่วยเบาหวาน
- หิวบ่อย อยากอาหารมากขี้น
- กระหายน้ำบ่อย
- ปัสสาวะบ่อย
- น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
- ปริมาณปัสสาวะมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน
- ประวัติครอบครัวมีโรคเบาหวาน
- น้ำหนักเกิน
- ปัสสาวะบ่อย
- เคยมีประวัติของโรคเหล่านี้
- ความดันโลหิตสูง
- ระดับคอเลสเตอรอลสูง
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- เบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ตาบอด
- ไตวาย
- แผลหายยาก
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
- ออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ปกติ ควรปรีกษาแพทย์ก่อนเพื่อเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่จะใช้เป็นประจำ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที พกลูกอมหรือน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลเผื่อไว้รับประทานในกรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในขณะที่ออกกำลังกาย
- ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรจสูง
- รับประทานอาหารที่มีเส้นใย เช่น ผักและธัญพืช ให้มากขึ้น
- ห้ามอดอาหารหรือรับประทานอาหารช้ากว่าเวลาประจำ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ขึ้นๆ ลดๆ
- ลดการรับประทานเกลือ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- งดการสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง
- ตรวจร่ายการอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบาดแผลหรือการติดเชื้อที่หายช้ากว่าปกติ ควรล้างและตรวจสอบเท้าทุกวันสังเกตว่ามีแผลขนาดเล็ก แผลกดทับหรือไม่
- ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดหรือในปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ
- ในบางครั้งผู้ป่วยเบาหวานอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมาก ทั้งนี้อาจมาจากผลของยาเบาหวานหรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ อาการทีเกิดคือ สั่น เวียนศีรษะ เหงื่อออก หิว ผู้ป่วยจึงควรพกน้ำตาลหรือกลูโคส เช่น ก้อนน้ำตาลน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลไว้รับประทาน ในกรณีเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างเฉียบพลัน
- หมั่นตรวจและดูแลผิวหนังทุกวัน (เวลาเย็นเป็นเวลาดี) และตรวจดูสภาพเท้าด้วย
- ล้างเท้าด้วยน้ำเปล่าวันละ 2 ครั้ง และซับให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว ไม่ควรใช้แปรงที่มีขนแข็งขัดเท้า และใช้แป้งโรยไม่ให้ผิวหนังชื่นไป
ที่มา Health Today