นิ่วในถุงน้ำดี อาการนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี อาการนิ่วในถุงน้ำดี

การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่พบบ่อยคือประมาณ 10-15% ของพลเมือง แต่ประมาณ 75% ของคนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีจะไม่มีอาการ จำไม่ต้องทำการรักษาใดๆ

น้ำดี และ ถุงน้ำดี
ถุงน้ำดีเป็นถุงเล็กๆ ขนาดประมาณไข่เป็ดตั้งอยู่ใต้ตับ ซึ่งอยู่ทางด้านขวาในท้องของเรา เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำดีที่ผลิตโดยตับ และส่งมาทางท่าน้ำดีเวลาเรากินอาหารโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันหรือเนื้อสัตว์ถุงน้ำดีจะบีบตัวส่งน้ำดีเข้าสู่สำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อไปผสมกับอาหาร และทำการย่อยไขมัน นอกจากนี้น้ำดียังทำหน้าที่กำจัดของเสียที่ออกมาจากตับ และกำจัดคอเลสเตอรอลออกร่ายกาย

นิ่วคอเลสเตอรอล
มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดนิ่ว บางปัจจัยไม่รู้แน่ชัดแต่ปัจจัยหนึ่งที่เรารู้กันดีว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วคือ จำนวนคอเลสเตอรอลในน้ำดีที่มากเกินไป โดยปกติน้ำดีจะมีสารเคมีหลายอย่างในปริมาณที่เพียงพอและสมดุลที่จะทำให้คอเลสเตอรอลอยู่ในรุปของสารละลายแล้วหลั่งออกไปจากตับ แต่ถ้าในน้ำดีมีคอเลสเตอรอลมากเกินกว่าที่จะละลายหมด ก็จะก่อตัวขึ้นเป็นก้อนนิ่ว นอกจากนี้ในกรณีที่ถุงน้ำดีไม่บีบตัวขับน้ำดีเป็นเวลานาน เช่น เวลาอดอาหาร คอเลสตอรอลในน้ำดีจะมีความเข้มข้นมากขึ้น จะทำให้เกิดก้อนนิ้วเล็กๆขึ้นได้ ซึ่งนิ่วคอเลสเตอรอลนี้มักมีสีเหลือง และเป็นนิ่วชนิดที่พบมากที่สุด
ปัจจัยอื่นที่ทำให้ความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง หรือถุงน้ำดีบีบตัวน้อยลงอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วคอเลสเตอรอล

  • เพศหญิ่ง เพราะฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ไม่ว่าจะเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติหรือที่มีอยู่ในยา เช่น ยาคุมกำเนิด มีฤทธิ์ทำให้คอเลสเตอรอลถูกขับออกมาท่างน้ำดีมากขึ้น
  • ภาวะน้ำหนักเกิด หรือ โรคอ้วน
  • ภาวะตั้งครรภ์
  • อายุมาก
  • กินอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูง และมีกากไยอาหารต่ำ
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว โดยการลดอาหารเร็วมากเกินไป
  • มีประวัติการเป็นนิ่วในครอบครัว

อาการนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีส่วนมากมักจะนอนนิ่งอยู่ในส่วนต่ำของถุงน้ำดีและไม่ทำให้เกิดอาการ จึงไม่ต้องทำการรักษาใดๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อถุงน้ำดีบีบตัวเพื่อขับน้ำดีสู่ลำไส้เล็ก นิ่วจะถูกขับเคลื่อนไปกับน้ำดีไปสู่ปากทางออกของถูงน้ำดี นิ่วจึงอาจไปอุดกั้นปากทางออก ทำให้เกิดอาการปวดท้องด้านบนขวาขึ้นมาทันที ความปวดนี้บางคนเป็นน้อยแค่รู้สึกเหมือนท้องอืดจากอาหารไม่ย่อย แต่บางคนเป็นมากจนตัวโก่ง ปวดร้าวไปที่สุบักหรือใต้ไหล่ข้างเดียวกัน

บางกรณีนิ่วอุดกั้นทางออกถุงน้ำดีดังกล่าวอาจจะตกลงมาในถุงน้ำดีใหม่ ทำให้หายอุดตัน หายปวดท้องเอง แต่บางกรณีนิ่วในถุงน้ำดีอาจจะเคลื่อนตัวไปมากกว่านั้น และไปอุดตันท่อของถุงน้ำดี หรือท่อน้ำดีร่วมจากตับ ทำให้เกิดการอักเสบของถุงน้ำดี และหรือตับอ่อนอักเสบ ทำให้น้ำดีจากตับถูกอุดกั้น เป็นผลให้เกิดอาการแสดงมากขึ้นดังนี้
  • ไข้สูงและหนาวสั่น
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง และคันตามตัว
  • ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม
  • อุจจระสีซีด

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี
ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้องจากนิ่ว แพทย์มักจะแนะนำให้รัษาด้วยการผ่าตัดเอานิ่วและถุงน้ำดีอีกเพราะว่า 70% ของคนที่มีอาการปวดครั้งแรก จะกลับมาเป็นอีกภายใน 2 ปี เนื่องจากถ้าผ่าตัดเอาเฉพาะนิ่วออกโดยไม่ตัดถุงน้ำดีออกด้วย มักจะเกิดนิ่วขึ้นมาอีก

การผ่าตัดถุงน้ำดีส่วนมากไม่ยุ่งยาก และทำได้ 2 วิธีคือ การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องและการผ่าตัดโดยวิธีเปิด

การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง จะทำโดยว่างยาสลบผู้ป่วย แล้วเจาะรู เพื่อใส่กล้องใส่เครื่องมือในการผ่าตัดเข้าไป แล้วเอาถุงน้ำดีพร้อมนิ่วออกมาทางรูที่เจาะไว้ การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะเจ็บแผลน้อย ผู้ป่วยกลับบ้านไปทำงานได้เร็ว

การผ่าตัดโดยวิธีเปิด ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีบางรายอาจจะไม่สามารถผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องได้ เช่น ผ่ายากเพราะมีพังผืดยึด มีการตกเลือดมากจนมองไม่เห็น ก็ต้องเปลี่ยนมาผ่าตัดโดยวิธีเปิด ซึ่งเป็นวิธีที่ทำกันมานานแล้วและได้ผลดี เพียงแต่จะมีแผลใหญ่หน่อย แต่เป็นแผลเดียว และผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีต้องอยู่โรงพยาบาล 2-5 วัน


อย่างไรก็ดี การผ่าตัดทุกชนิดอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะในรายที่ผ่าตัดยาก เนื่องจากมีการอักเสบของถุงน้ำดีมาก หรือมีการอักเสบเรื้อรัง มีพังผืดยึดติดแน่น โดยภาวะแทรกซ้อนที่จำเพาะกับการผ่าตัดถุงน้ำดีคือการบาดเจ็บของท่อน้ำดี และจำทำให้การรักษายุ่งยากต้องอยู่โรงพยาบาลนาน เพราะอาจจะต้องผ่าตัดซ้ำเพื่อแก้ไข โดยทั่วไปการผ่าตัดวิธีเปิดจะมีภาวะแทรกซ้อนแบบที่ว่านี้น้อยกว่าการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง

ที่มา Health Today

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Facebook Themes